รู้จัก “กุนขแมร์” มวยกัมพูชา แตกต่างกับ “มวยไทย” อย่างไร

รู้จัก “กุนขแมร์” มวยกัมพูชา กำลังเป็นดรามาข้ามประเทศอยู่ในขณะนี้ สำหรับ “กุนขแมร์” ศิลปะป้องกันตัวของประเทศกัมพูชา จากกรณีที่คณะกรรมการจัดการแข่งซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ของกัมพูชา ได้ประกาศบรรจุ มวยเขมร หรือ “กุนขแมร์” ลงในการแข่งขันโดยระบุว่าเป็นกีฬาประจำชาติกัมพูชา ส่งผลให้ประเทศไทย ประกาศไม่ส่งทีมนักกีฬาลงแข่งขันในประเภทนี้ ซึ่งคาดว่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และ เวียดนาม จะไม่ส่งนักกีฬาลงแข่ง “กุนขแมร์” ด้วยเช่นกัน

 

รู้จัก “กุนขแมร์” มวยกัมพูชา คืออะไร

รู้จัก “กุนขแมร์” มวยกัมพูชา มวยเขมร เป็นกีฬาที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศกัมพูชา มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Kbach Kun Pradal Khmer มีความหมายว่า “การต่อสู้อย่างอิสระ” อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานการยืนยันว่า การพัฒนาแบบแผนศิลปะป้องกันตัวชนิดนี้มาจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง หรือ พัฒนาแบบแผนการต่อสู้มาจากประเทศอินเดีย

อย่างไรก็ตาม กัมพูชา ยังมีศิลปะการต่อสู้ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หรือ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของยูเนสโก มีชื่อเรียกว่า “กุน ลโบกาตอร์” ซึ่งขึ้นทะเบียนไป เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา โดยป็น 1 ใน 22 มรดกภูมิปัญญาอื่นๆที่ได้นับการขึ้นทะเบียน อาทิเช่น ขนมปังบาแกตต์ในฝรั่งเศส พิธีชงชาของจีน พิธีเต้นรำฟูริวโอโดริของญี่ปุ่น

โดย กุน ลโบกาตอร์  เป็นศิลปะป้องกันตัวที่ชาวกัมพูชาพัฒนามาเพื่อใช้ป้องกันตัวจากสัตว์ป่า โดยมีบันทึกหลักฐานท่าทางการต่อสู้ในวัดที่สร้างในศตวรรษที่ 7  ตามคำบอกเล่าของสาน คึมสาน นักมวยเขมร  ระบุว่า  ลโบกาตอร์ ชื่อเรียกนี้มาจากตำนานที่ว่า เมื่อก่อนมีสิงโตโจมตีหมู่บ้านเมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว นักรบคนหนึ่งได้ล้มสิงโตลงโดยการโจมตีด้วยหัวเข่า

ลโบกาตอร์ เป็นศิลปะการป้องกันตัวที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยสร้างนครวัด และกล่าวกันว่าครั้งหนึ่งเคยฝึกโดยกองทัพของ อาณาจักรพระนคร เชื่อว่าส่วนหนึ่งของความแข็งแกร่งของอาณาจักรนครวัดที่ได้ปกครองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาและได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์อังกอร์ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในปลายศตวรรษที่ 12

 

มวยเขมร กับ มวยไทยแตกต่างกันอย่างไร

 

UNESCO Bangkok ระบุข้อมูลถึงความแตกต่างของ ศิลปะการต่อสู้ กุน ลโบกาตอร์ มวยเขมร แตกต่างกับมวยไทยอย่างไร ว่า  ในเว็บไซต์ว่า “เป็นศิลปะที่มีความคล้ายคลึงกันกับมวยไทยและมวยลาว”  ทั้งนี้ศิลปะเหล่านี้สืบต่อมาจากเหล่าอาณาจักรโบราณที่ผสมผสานเชื้อชาติและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกันมาช้านานหลายศตวรรษ

ขณะที่ “บัวขาว บัญชาเมฆ ” ยอดมวยชาวไทย ได้โพสต์ถึงมวยไทยว่า เรามีศาสตร์และศิลป์ แห่งมวยไทย ตั้งแต่การไหว้ครู รูปแบบเเผนการฝึกอย่างมีระบบ ตลอดจน ทักษะแม่ไม้มวยไทยในแขนงต่างๆ เป็น ภูมิปัญญาของบรรพชนไทย เราคิดค้นขึ้น ที่สำคัญวิชานี้ใช้ในการกู้เอกราชปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มาแต่โบราณ

 

ประวัติของ “มวยไทย”

 

มวยไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของคนไทยที่สืบทอดกันมานาน เป็นทั้งการต่อสู้ป้องกันตัวและกีฬา ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด แต่ถือว่ามวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ของไทยเช่นเดียวกับกังฟูของจีน ยูโดและคาราเต้ของญี่ปุ่น และเทควันโดของเกาหลี ใน สมัยรัชกาลที่ 6 มวยไทยได้พัฒนามากขึ้นมีการชกมวยแบบสวมนวมชก และนับคะแนนแพ้ชนะ มีการกำหนดยก นักมวยแต่งกายตามมุม คือ มุมแดง และมุมน้ำเงิน เช่นเดียวกับการชกมวยสากล มีค่ายมวยเกิดขึ้นหลายค่าย

 

มวยไทย – กุนขแมร์ วิเคราะห์บทสรุป! ใครคือเจ้าของต้นฉบับตัวจริง

 

รู้จัก “กุนขแมร์” มวยกัมพูชา ศิลปะการต่อสู้พื้นบ้านของประเทศกัมพูชา กลายเป็นประเด็นร้อนแรง! เมื่อถูกบรรจุในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 แทนที่มวยไทย ด้วยเหตุผลว่ากุนขแมร์คือต้นกำเนิดกีฬาชนิดนี้ หรือเอาให้ชัดตรงประเด็นคือ “มวยไทยก๊อปปี้ของเค้ามา” โดยอ้างหลักฐานภาพแกะสลักหินปราสาทนครวัด แสดงถึงมวยชนิดนี้มีในกัมพูชาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 เกิดคำถามว่าแท้จริงแล้ว “มวยไทย VS กุนขแมร์” ใครขโมยศิลปะการต่อสู้ชนิดนี้เป็นของตัวเอง

ย้อนกลับไปโลกสมัยโบราณตั้งแต่ดินแดนแถบนี้ยังเป็นอาณาจักร การต่อสู้ด้วยมือและเท้าคือเรื่องพื้นฐานของมนุษย์ หากไม่มีอาวุธในมือมันก็ต้องใช้หมัดเท้าเข่าศอกสู้กัน ต่อมาเมื่อปรากฏอารยธรรม การต่อสู้ด้วยมือเปล่าถูกเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามชนชาติภูมิภาคนั้นได้แก่

  • ไทย  มวยไทย (Muay Thai)
  • กัมพูชา  กุนขแมร์ (Kun Khmer)
  • เมียนมา  และเหว่ (Lethwei)
  • ลาว  มวยลายลาว (Muay Lao)

แตกแขนงเป็นศิลปะประจำชาติตัวเอง อยู่ในการครอบครองของชาตินั้น ๆ กล่าวคือไทยก็คือเจ้าของมวยไทย กัมพูชาก็คือ เจ้าของกุนขแมร์ พม่าก็มีมวยและเหว่ของเค้า ทีนี้มันเกิดความต่างเมื่อเวลาผ่านไป ประเทศไทยสามารถทำให้มวยชนิดนี้กลายเป็นกีฬาขึ้นมาได้ เวทีมวยไทยสร้างกันมานานเช่นราชดำเนิน พ.ศ. 2488 , ลุมพินี พ.ศ. 2499 มีบันทึกว่าถูกจัดการแข่งขันมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ เช่นพระยาพิชัยดาบหัก (ทองดี ฟันขาว) คือนักมวยเก่งสุดในแผ่นดินจนตระเวนหาคู่ชกไม่ได้ มีความพยายามนำ “มวยไทย” เผยแพร่จนชาวโลกให้การยอมรับ ก่อตั้งสหพันธ์มวยไทยนานาชาติจัดการแข่งขันชิงแชมป์เป็นเรื่องเป็นราว

มวยไทย มีความเป็นกีฬามากกว่ามวยชนิดอื่นแถบภูมิภาคนี้ที่ยังชกกันในประเทศ หรืออนุรักษ์ไว้เพื่อจัดแสดงโชว์ ทั้งที่โดยเนื้อแท้ของกุนขแมร์ , และเหว่ หรือมวยลาวมีท่วงท่าไม่ต่างกัน ใช้หมัดเท้าเข่าศอกเป็นอาวุธ ในปัจจุบันเวทีต่าง ๆ เอากุนขแมร์เจอกับมวยไทย หรือเอามวยและเหว่เจอกับมวยลาวได้แบบไม่มีปัญหา นั่นคือศิลปะการต่อสู้ชนิดนี้มาจากรากเหง้าเดียวกันคือพื้นฐานการต่อสู้ของมนุษย์ แต่ถ้าไปถามชาวต่างชาติเห็นการยกเข่าฟันศอกแบบนี้ ร้อยทั้งร้อยบอกว่านี่คือมวยไทย เพราะเราเอาความเป็นมวยไทย “ ประทับตรา ” อยู่ในหัวสมองของชาวโลกได้สำเร็จ


บทความแนะนำ